กูรูมองเม็ดเงินทะลักสู่สินทรัพย์เสี่ยงเป็นโอกาสของ “ทองคำ” ในระยะยาว

1,097

ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มาตรการเยียวยาผลกระทบของโรคโควิด-19 ภายใต้ชื่อ“American Rescue Plan Act of 2021″ วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์ ได้ผ่านการลงนามโดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน และประกาศใช้ป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม..) ภายใต้มาตาการดังกล่าวมีแผนงานในหลายเรื่อง หนึ่งในนั้นก็คือการจ่ายเงินโดยตรงให้กับชาวอเมริกัน คนละ 1,400 ดอลลาร์หรือราว 4.3 หมื่นบาท รวมวงเงินกว่า 4.10 แสนล้านดอลลาร์ และนับเป็นการจ่ายเงินสดช่วยเหลือชาวสหรัฐโดยตรงเป็นครั้งที่ 3 ในรอบไม่ถึง 1 ปี

ทั้งนี้มีรายงานว่า กรมสรรพากรสหรัฐได้เริ่มโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของชาวอเมริกันโดยตรงไปแล้วเมื่อวันศุกร์ (12 มี.ค.)ที่ผ่านมา โดยจะมีประชาชนบางส่วนเริ่มได้รับเงินดังกล่าวอย่างเร็วที่สุดในช่วงสุดสัปดาห์นี้  โดยบรรดานักเศรษฐศาสตร์มองว่า รายได้จากเงินเยียวยาดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ แต่ก็จะมีนักวิเคราะห์ก็กังวลปัญหาเงินเฟ้อที่จะตามมา และอาจจะทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่าลง

ด้าน Mark Bristow CEO Mark Bristow ได้แสดงความกังกลกับสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยระบุว่า ตอนนี้เงินล้นตลาด และมีนักลงทุนได้สะสมสินทรัพย์ที่ไม่มีมูลค่าที่แท้จริง โดยเฉพาะสกุลเงินดิจิทัลและการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและผันผวนมากในปีนี้ ทั้งที่ทุกคนไม่แน่ใจว่าสิ่งต่างๆ จะได้ผลอย่างไร สิ่งที่เกิดขึ้นมาจากสภาพคล่องจำนวนมาก และเครื่องมือสื่อสารที่ยอดเยี่ยม ทำให้ผู้คนกำลังค้นหาผลตอบแทนที่ดีขึ้น แต่อาจจะเป็นความผิดพลาดครั้งใหญ่ ซึ่งจะทำให้ราคาทองคำจะพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง

ขณะที่นางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ชี้ความเสี่ยงเรื่องเงินเฟ้อจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์นั้น จะอยู่ในระดับต่ำ และรัฐบาลสามารถควบคุมได้ หากเกิดภาวะเงินเฟ้อจริง เพราะมีเครื่องมือที่ดีพอในการจัดการ และได้จับตาสถานการณ์เงินเฟ้ออยู่ตลอดเวลา ที่สำคัญเงินจากมาตารการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และผลที่เกิดขึ้นจะปรากฎให้เห็นในรูปของการจ้างงานที่มีการขยายตัวอย่างเต็มศักยภาพ

ทั้งนี้นางเยลเลนยังคงสนับสนุนมาตรการดังกล่าว โดยระบุว่าจะทำให้การจ้างงานของสหรัฐกลับสู่ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ภายในปีหน้า ซึ่งสถานการณ์ในตลาดแรงงานของสหรัฐเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว โดยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือน ก.พ. เพิ่มขึ้น 379,000 ตำแหน่ง ตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลงสู่ระดับ 712,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย.2563

CR :Kitco news

CR :อินโฟเควสท์

Comments are closed, but trackbacks and pingbacks are open.